วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

ช่วงนี้เป็นวิทยากรบรรยายในการบรรยายเรื่องของการทำเว็บไซต์ บ่อย ๆ เลยไปเจอคำถามบ่อย ๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการโฆษณาผ่านเว็บที่หลายคนทำอย่างไรก็ไม่ค่อยจะได้ผลกับเขาสักที ยอดเข้าดูไม่เคยเพิ่ม ตังก็จ่าย และมันเกิดอะไรขึ้น เอาเหอะ วันนี้เลยสรุปปัญหามาให้ฟังเผื่อว่าหลายคนที่กำลังเจอปัญหาจะได้เอาไปปรับปรุง โฆษณาในเว็บ ยอดคลิกจะได้เพิ่มขึ้นสักที
เลือกเว็บไซต์ที่จะโฆษณา
คือตรงนี้หลายคนมักจะมองข้ามไปแต่ผมบอกตามตรงว่ามันสำคัญมากครับ เพราะยิ่งเว็บไซต์ได้รับความนิยมมากเท่าไรนั่นก็หมายความว่ามีผู้ใช้เยบอะด้วยเช่นกัน พอมีผู้ใช้เยอะ คนเห็นโฆษณาเราก็เยอะไปด้วย โดยส่วนมากหลาย ๆ เว็บก็มีสถิติบอกในเรื่องของยอดการเข้าชมให้อยู่แล้วเพราะอย่างนั้นเราก็จะสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่า เว็บไซต์นั้นมีคนเข้าเยอะหรือไม่ หรือหลาย ๆ เว็บ เราก็จะสามารถขอดูสถิติได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ผมก็ยอมรับว่าค่าโฆษณามันก็แพงขึ้นมากเลยทีเดียว แต่ผมบอกตามตรงนะครับ แม้จะแพง ก็จะคุ้มนะครับ

เลือกกลุ่มเป้าหมาย
ตรงนี้ก็สำคัญมากเช่นกันครับ เพราะในการลงโฆษณาในแต่ละเว็บเราจะเห็นว่าแต่ละเว็บมีผู้ใช้ มีกลุ่มเป้าหมาย มีลูกค้าที่ต่างกัน เพราะงั้นเราควรศึกษาให้ดีว่าเว็บที่เราจะเอาโหษณาไปติดนั้น มีลูกค้าเป็นกลุ่มไหน อย่างไร ตรงกับสินค้าของเราหรือเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกับเหรือไม่ ถ้าไม่ตรงทำไปก็คงไม่ได้ลูกค้าที่เราต้องการเพราะงั้นเราควรศึกษา กลุ่มเป้าหมายของแต่ละเว็บด้วยพอสมควรเพื่อมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเว็บไซต์เรา ว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกันหรือไม่ เพื่อที่จะเจาะกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง

ลงโฆษณาหลาย ๆ เว็บไซต์
ที่จริงหลังจากวิเคราะห์ 2 ข้อแรกแล้วผมเชื่อว่าคุณคงจะได้ตัวเลือกมากมายหลายเว็บไซต์ เพราะงั้นก็คงไม่ยากสำหรับข้อนี้ เพราะบางทีเว็บไซต์เดียวอาจไม่ครอบคลุมลูกค้าได้มากพอ เพราะงั้นเราลองมาใช้กลยุทธ์ล้อมตลาดกันดูบ้างคือลงโฆษณากันหลาย ๆ เว็บเอาให้ครอบคลุมกันไปเลย เพื่อที่จะทำให้ลูกค้าจากหลาย ๆ เว็บ เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์เรา

รูปแบบของแบนเนอร์
การที่เราทำแบนเนอร์หลายคนอาจรู้เรื่องนี้ดี แต่หลาย ๆ คนอาจไม่สนใจกับเรื่องนี้ แต่ผมบอตามตรงการทำแบนเนอร์ ต้องมีความแปลกใหม่น่าสนใจ มีข้อความรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว กระพริบให้ดูน่าสนใจมากขึ้น และในการติดโฆษณา คุณจะมีเวลาที่จะใช้แบนเนอร์ได้เพียงประมาณ 2 สัปดาห์ นั่นก็เพราะคนที่เคยคลิกมาแล้วจะไม่คลิกดูซ้ำครับ เพราะงั้น เราก็ควรที่จะเปลี่ยนแบนเนอร์ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้หลายคนเกิดการสงสัยด้วยเช่นกัน เพราะงั้นตรงนี้เป็นกลยุทธ์ที่ดี ผมเคยนำเสนอไปหลายครั้ง ในบทความก่อน ๆ มา เพราะงั้นคงไม่ต้องอธิบายอะไรมากแล้วนะครับ

จากเรื่องที่กล่าวมา ผมเชื่อว่าถ้าหลายท่านเอาไปปรับใช้ได้แล้วก็คงได้ผลได้ไม่ช้า ลองดูได้เลยครับ และก็ขอให้คนเข้าไปคลิกในเว็บท่านๆ เยอะ ๆ นะครับ

การชำระเงินผ่าน paypal ออนไล

การชำระเงินผ่าน paypal ออนไล



    
PayPal ก็คือ ธนาคารออนไลน์ เป็นบริการจ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ต PayPal Inc.(www.paypal.com) ที่ช่วยให้นักท่องเน็ตอย่างเรา ๆ สามารถชำระเงิน ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะทหำให้เกิดความสะดวกสบายทั้งผู้ซื้อและผู้ชาย โดยสามารถทำได้โดย การโอเนเงินเข้าสู่บัญชี paypal จากนั้นเเราก็สามารถชำระเงินผ่าน paypal ได้ทันที ซึ่งโดยปกติแล้ว  การ ชำระเงินบนอินเทอร์เน็ตมีอยู่ 6 วิธีคือ 

   1. ใช้บัตรเครดิต

   2. ใช้เงินอิเล็ทรอนิกส์ เช่น eCash (http://www.digitalcash.com)
   3. ชำระผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่นตู้ ATM, Telephone Banking
   4. หักบัญชีเงินฝาก เช่นบัญชีออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน
   5. โอนผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
   6. ธนาณัติหรือเก็บเงินปลายทาง

วิธีการทำงานของ PayPal มีขั้นตอนดังนี้

1.สมัครเป็นสมาชิกของ PayPal และจดจำ E - mail Address และ Password ให้ดี เพราะต้องใช้เพื่อ Log in
2.Log in เข้าสู่ระบบ
3.เลือกหัวข้อ "Send Money" หลังจากนั้นให้ระบุอีเมล์ของ ผู้รับเงิน จำนวนเงินที่ต้องการส่ง และประเภทของการชำระเงิน เพื่อแจ้ง ให้ผู้รับเงินทราบ
4.ระบุข้อมูลบัตรเดบิตหรือเครดิตของท่านเอง เพื่อทำการ หักเงิน จากบัญชีบัตรเครดิต
5.ระบบจะแสดงข้อมูลทั้งหมดเพื่อยืนยันความถูกต้อง ถ้าหาก ข้อมูล ถูกต้องแล้วก็ Click "Submit"
6.ระบบจะส่งอีเมล์ ไปยังผู้รับเงินปลายทางตามที่ผู้ส่งระบุไว้
7.ผู้ รับเงินเปิดอีเมลืจะมี URL Link กลับมาบังเว็บไซต์ของ Paypal หากผู้รับเงินยังไม้ได้สมัครสมาชิกจะต้องสมัครเป็น สมาชิกของ Paypal ก่อน
8.เมื่อ ผู้รับเงินเป็นสมาชิกของ Paypal แล้ว ทำการ Log in เข้าสู่ระบบ และเข้าไปดูหน้า Personal Account จะพบว่า มีรายการ โอนเงินมาให้ตัวเอง
9.ผู้รับเงินจะทราบรายระเลียดการโอนเงินทั้งหมด
10.หาก สถานะของเงินโอนเป็น "Complete" ผู้รับเงินสามารถ เลือกได้ว่าต้องการให้เงินที่ได้รับมานี้ถูกดำเนินการต่อไปอย่างไร เช่น โอนเข้าบัญชีของตนเอง ขอเปลี่ยนเป็นเช็ค หรือส่งมอบ เงิน โอนนี้ไปให้ผู้อื่น

ค่าธรรมเนียม

  อัตรา ค่าธรรมเนียมของ PayPal นั้น หากเป็นการโอนเงิน ระหว่าง บุคคลทั้งผู้รับและผู้ส่งอยู่ในระบบของ PayPal จะไม่เสียค่าธรรม เนียม แต่หากไม่ใช่ อัตราค่าธรรมเนียมจะคิดที่ประมาณ 2.6 % ของจำนวนเงิน  และหากเป็นการโอนเงินไปในบัญชีใน ธนาคารประเทศ สหรัฐอเมริกา ก็จะไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่ถ้าหาก ไม่ใช่ก็จะเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 1.50 ดออลาร์สหรัฐ

จุดเด่น

1.เป็นช่องทางในการโอนเงินระหว่างบุคคลที่สะดวกที่สุด
2.ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการถูก
3.ต้นทุนของธนาคารในการทำธุรกรรมต่ำ
4.มีรูปแบบการกระจายจำนวนสมาชิกที่น่าสนใจและมีจำนวนสมาชิก มากขึ้นเรื่อย ๆ 5.มีสาขากระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ผรั่งเศส
6.สามารถรองรับการทำธุรกรรมด้วยเงินหลายสกุล
7.สามารถสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัย ให้แก่ลูกค้า และร้าน ค้าได้เป็นอย่างดี
8.ร้านค้าส่วนใหญ่ในอเมริกา และยุโรป ยอมรับ PayPal มากขึ้น
9.ขณะนี้ PayPal กำลังเข้ามาทำตลาดในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น เช่น ฮ่องกง และคาดว่าอีกไม่นานจะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย
10.ได้รับการยอมรับจากนิตยสารและผู้เชี่ยวชาญในวงการอินเทอร์เน็ต อย่างกว้างขวาง เช่น PC Magazine, Times, U.S. News

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี 3G


เทคโนโลยี 3G

ระบบ 3G คืออะไร ?
เทคโนโลยี 3G หมายถึง ?
ความเร็ว 3G เท่าไหร่ ?
ทำไมถึงเรียก 3 G ?


จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
   มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง
จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความ ปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มใน เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน
การตอบรับของกลุ่มผู้บริโภคบริการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ทำให้มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการณ์ทั่วโลกอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการเปิดสัมปทานและนำมาซึ่งการแข่งขันอย่างรุนแรงในแทบทุกประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะมีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการอย่าง ก้าวกระโดดแล้ว ในขณะเดียวกันยังสร้างผลกระทบต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue per User หรือ ARPU) ของผู้ให้บริการเครือข่าย อันเนื่องมาจากการกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา ยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (Prepaid Subscriber) ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดการลดถอยของ ARPU ลงอย่างต่อเนื่อง พร้อม กับปัญหาผู้ใช้บริการย้ายค่าย (Brand Switching) ที่รุนแรงขึ้น
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและยังเป็นการสร้างรายได้ เพิ่มเพื่อชดเชย ARPU ที่ลดต่ำลง เนื่องจากปรากฏการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง (Voice Service) ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจึงมีความเห็นตรงกันที่จะ สร้างบริการสื่อสารไร้สายรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่เปิดใช้งานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) พร้อมกับการวางแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการทางวิศวกรรม การตลาด และแผนการลงทุน เพื่อสร้างกระแสความต้องการ (Demand Aggregation) ให้กับฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีอยู่เดิม เพื่อเพิ่ม ARPU ให้สูงขึ้น พร้อม ๆ กับผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ EMS (Enhanced Messaging Service) หรือ MMS (Multimedia Messaging Service) รวมถึงบริการท่องโลกอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป อุปกรณ์ไร้สายประเภท PDA (Personal Digital Assistant) และโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Phone)
เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA ดังแสดงพัฒนาการในรูปที่ 1 เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูล แบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา
การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice
ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาอันเป็นยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยี 2.5G ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย มีการผลักดันบริการสื่อสารข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ในรูปแบบ Non-Voice เพื่อสร้างกระแสนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 2.5G อย่างเต็มรูปแบบ หรือเป็นการผลักดันให้เกิดการยอมรับในบริการที่มีอยู่แล้ว อันได้แก่บริการ SMS ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่าบริการเหล่านี้ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่เพิ่ม มูลค่าให้บริการ ARPU ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของบริการประเภทต่าง ๆ บนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมของทั้งทวีปเอเชียตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2553 ซึ่งในท้ายที่สุดบริการแบบ Non-Voice จะมีสัดส่วนที่เป็นนัยสำคัญต่อรายได้รวมทั้งหมด
สำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยเอง นับตั้งแต่การเปิดให้บริการประเภท Non-Voice อย่างจริงจังเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็สามารถสร้างรายได้เพื่อ เสริมทดแทนการลดทอนของค่า ARPU ภายในเครือข่ายของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการสื่อสารไร้สายมัลติมีเดียของ บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด (HUTCH) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา สภาพการแข่งขันในธุรกิจสื่อสารไร้สายในประเทศไทยก็เริ่มมุ่งความสำคัญในการ สร้างบริการ Non-Voice ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริการ MMS อย่างเป็นทางการ การคิดโปรโมชั่นกระตุ้นการท่องอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแม้กระทั่งการทดลองเปิดให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (TV on Mobile) ซึ่งความพยายามของผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละราย ทำให้เกิดกระแสความสนใจใช้บริการ Non-Voice เพิ่มมากขึ้น
รูปที่ 3 และ 4 แสดงถึงความสำคัญของรายได้ที่เกิดขึ้นจากบริการ Non-Voice นับตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา อันมีผลทำให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเพิ่มค่า ARPU ของตนให้มีแนวโน้มสูงขึ้น พร้อม ๆ กับการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการภายในเครือข่ายของตน ซึ่งแตกต่างจากสภาพการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้ที่รายได้เฉลี่ยของตนตกลงเรื่อย ๆ สวนทางกับการเพิ่มจำนวนของกลุ่มผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงกลุ่มผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมใช้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของประเทศ มีการเพิ่มค่า ARPU ขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากนโยบายการตลาดของผู้ให้บริการที่มีการจำกัดเวลาในการโทร ให้สัมพันธ์กับวงเงินก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ความนิยมในบริการ Non-Voice ประเภท SMS และ EMS โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปแบบของบริการดาวน์โหลดรูปภาพ (Logo/Animation) และเสียงเรียกเข้า (Ringtone) ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษามีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อการเพิ่มค่า ARPU ดังกล่าว

ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G
  มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G แม้จะสามารถรองรับการสื่อสารประเภท Non-Voice ได้ แต่ก็ไม่อาจสร้างบริการประเภท Killer Application ที่ผลิกผันรูปแบบการให้บริการได้อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากสถาการณ์การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่แม้จะมีการเติบโตอย่างชัดเจนในตลาดประเภท Non-Voice แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดก็จะพบว่าบริการที่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด ล้วนเป็นบริการประเภท SMS และ EMS ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดรูปภาพหรือเสียงเรียกเข้า รวมถึงการเล่นเกมส์ตอบปัญหาหรือส่งผลโหวตที่ปรากฏอยู่ตามสื่อชนิดต่าง ๆ ซึ่งบริการเหล่านี้ล้วนเป็นบริการพื้นฐานในเครือข่าย 2G
ข้อจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 900 เมกะเฮิตรซ์ , 1800 เมกะเฮิตรซ์ หรือ 1900 เมกะเฮิตรซ์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา
แม้เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS และ EDGE ซึ่งถือเป็นการเสริมเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet Switching) ที่มีความยืดหยุ่นในการสื่อสารข้อมูลแบบ Non-Voice ในลักษณะเดียวกับที่พบในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ตาม แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นการ ต่อยอด บนเครือข่ายแบบเดิมที่มีการทำงานแบบ TDMA ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องพะวงกับการจัดสรรทรัพยากรช่องสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดสรรวงจรสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุจากสถานีฐาน ไปยังเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบ Non-Voice ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลรบกวนต่อจำนวนวงจรสื่อสารแบบ Voice มากจนเกินไป
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงพบว่าไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูล ผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความสนใจที่จะใช้บริการต่อไป โดยในขณะเดียวกันก็มีบริการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line) เป็นทางเลือกสำหรับใช้บริการ ความสนใจที่จะใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรับส่งข้อมูลจึงมีอยู่ เฉพาะการเล่นเกมส์และส่ง SMS, MMS ซึ่งทำได้ง่าย และมีการประชาสัมพันธ์ดึงดูดใจมากมาย


มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
  เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ
มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำ ไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA นี้เองที่กิจการร่วมค้า ไทย - โมบาย กำลังจะดำเนินการพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.ศ. 2548 นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G/2.5G/2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้อย่างเด็ดขาด
อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลกดังแสดงในรูปที่ 5 ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย - โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิด ให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป

จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA
  นอกจากมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีฐาน (Base Station Subsystem) จากยุค 2G ซึ่งใช้เทคโนโลยี TDMA เป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเกตเพื่อความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากร ความถี่สำหรับให้บริการทั้งแบบ Voice และ Non-Voice อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้บริการ (End User Perception) ถึงความรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูล และยังคงรักษาคุณภาพของการสนทนาที่เหนือกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังมีความคล่องตัวในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายข้อมูลที่อยู่ในโลกอิน เทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อต่าง ๆ สอดรับกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตทุกประการ ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตรจำนวนมาก มีความคล่องตัวในการบันทึก จัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูลประเภทสื่อข้อมูล (Content) ต่าง ๆ
เมื่อทำการเปรียบเทียบเฉพาะด้านของอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลดังแสดงใน รูปที่ 6 จะเห็นว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G นอกจากจะรองรับการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว ยังก่อให้เกิดการถือกำเนิดของบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นบนเครือข่ายยุคในตระกูล 2G/2.5G/2.75G ได้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบริการ Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนา โดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของข้อมูล บริการในลักษณะนี้จะกลายเป็น จุดขาย สำคัญประการหนึ่งของมาตรฐานการสื่อสารแบบ 3G ทั้งนี้เครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ล้วนรองรับบริการ Video Telephony แล้วทั้งสิ้น จึงสามารถเปิดให้บริการดังกล่าวได้ในทันที
ข้อมูลจาก UMTS Forum ในรูปที่ 7 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA เปรียบเทียบกับมาตรฐาน GSM โดยพิจารณาอัตราการเติบโตภายในช่วง 10 ไตรมาสแรก (2 ปีครึ่ง) หลังจากการเปิดให้บริการ GSM ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เทียบกับ 10 ไตรมาสแรกหลังจากการเปิดให้บริการ W-CDMA ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 พบว่าเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่ามาก มูลเหตุสำคัญมาจากแรงผลักดัน (Business Momentum) ที่ผู้ใช้บริการ 2.5G หรือ 2.75G รอคอยเครือข่ายสื่อสารไร้สายที่สามารถตอบสนองความต้องการในการสื่อสารข้อมูล ด้วยอัตราเร็วสูงอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายยังมีความคล่องตัวในการจัดสรรเครือข่ายในด้าน ต่าง ๆ เพื่อสร้างบริการสื่อสารประเภท Non-Voice ที่ต้องพึ่งพาอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้น นอกเหนือจากบริการ Non-Voice พื้นฐานอย่าง SMS และ EMS
กล่าวโดยสรุป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มาตรฐานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA มีแนวโน้มของการประสบความสำเร็จทางธุรกิจที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G จนถึง 2.75G นั้น สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรูปแบบของเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อตอบสนองรูปแบบการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจให้ผลักดันบริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ UMTS Forum ได้กล่าวถึงจุดเด่นของมาตรฐาน W-CDMA ซึ่งจะนำความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการดังนี้ (เอกสาร Why the world has chosen W-CDMA : 24 September 2003)
  1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice ในแง่ของผู้ใช้บริการจะรับรู้ได้ว่าคุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะรับรู้ถึงอัตราเร็วในการสื่อสารที่สูงกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาก อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเครือข่าย และใช้ย่านความถี่ที่สูงขึ้น
  2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐาน GSM ทำให้ผู้ให้บริการ 3G สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย 3G เข้าหากันได้ถึงขั้นอนุญาตให้มีการใช้งานข้ามเครือข่าย (Roaming) เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในเครือข่ายยุค 2G นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานข้ามเครือข่ายกับมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้ในทันที โดยผู้ใช้บริการเพียงมีอุปกรณ์สื่อสารแบบ Dual Mode เท่านั้น ทำให้เกิดลู่ทางในการสร้างเครือข่าย W-CDMA เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเครือข่ายรายอื่นได้ร่วมเข้าใช้บริการ ในลักษณะของ Mobile Virtual Network Operator (MVNO) เป็นรายได้ที่สำคัญนอกเหนือจากการให้บริการ 3G กับผู้ใช้บริการที่จดทะเบียนภายในเครือข่าย
  3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลก ที่จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว จึงเป็นการรับประกันถึงพัฒนาการที่มีอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ การเร่งเปิดให้บริการ 3G จึงเปรียบได้กับการเร่งเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ในอดีต
4. พิจารณาเฉพาะการให้บริการแบบ Voice จะเห็นว่าการลงทุนสร้างเครือข่าย W-CDMA มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเครือข่าย GSM ถึงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมาตรฐาน W-CDMA มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้ผู้ประกอบสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรความถี่ เพื่อรองรับ Voice และ Non-Voice ได้อย่างผสมผสาน ต่างจากการกำหนดทรัพยากรตายตัวในกรณีของเทคโนโลยี GSM
  5. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ให้บริการที่กว้างใหญ่ ไปพร้อม ๆ กับความสะดวกในการเพิ่มขยายขีดความสามารถในการรองรับข้อมูลข่าวสาร ต่างจากเครือข่าย 2G โดยทั่วไปที่ปัจจุบันเริ่มประสบกับปัญหาการจัดสรรความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อ การขยายเครือข่าย เนื่องจากเป็นระบบแบบแถบความถี่แคบ (Narrow Band)
  6. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะมาตรฐาน IETF (Internet Engineering Task Force) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญ ในการพัฒนาโปรแกรมหรือบริการพิเศษต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ทำการพัฒนาสร้างบริการผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย โดยใช้ทักษะความสามารถและความชำนาญที่มีอยู่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดบริการประเภท Non-Voice ได้สารพัดรูปแบบ
  7. มีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในรองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีอัตราเร็วสูง ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสู่มาตรฐาน HSDPA ที่รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงมากถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่สามารถพัฒนาให้รองรับการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าเทคโนโลยี EDGE ในปัจจุบัน ซึ่งรองรับข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาที และในความเป็นจริงก็ไม่สามารถเปิดให้บริการด้วยอัตราเร็วถึงระดับดังกล่าว ได้ เนื่องจากจะทำให้สถานีไม่สามารถรองรับบริการ Voice ได้อีกต่อไป
  8. ในอนาคตมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนในการรวมตัวกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wireless LAN (IEEE802.11b/g) หรือ WiMAX (IEEE802.16d/e/e+) ทำให้ผู้ใช้บริการเครือข่ายไร้สายสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในเครือข่ายใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมทางภูมิประเทศ โดยยังคงได้รับการดูแลโดยผู้ให้บริการเครือข่าย 3G
ความสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM จำนวนมากทั่วโลก รวมนักลงทุนหน้าใหม่ ให้ความสำคัญสำหรับการแสวงหาสิทธิ์ในการเปิดให้บริการเครือข่าย 3G และมีแผนกำหนดเปิดให้บริการเทคโนโลยี W-CDMA ดังมีข้อมูลแสดงในรูปที่ 8 โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับต้น ๆ ของโลก 8 รายได้ตัดสินใจเลือกมาตรฐาน W-CDMA เป็นเทคโนโลยี 3G ดังแสดงในรูปที่ 9
ในท้ายที่สุด ความสมบูรณ์แบบในการรองรับธุรกิจ Non-Voice ของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะช่วยผลักดันให้เกิดห่วงโซ่ธุรกิจที่สมบูรณ์แบบ ดังแสดงในรูปที่ 10 แม้จะมีความพยายามในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมภายในประเทศที่จะผลัก ดันให้เกิดการประสานผลประโยชน์อย่างลงตัวระหว่างผู้ให้บริการเครือข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G/2.5G/2.75G กับผู้ประกอบการสื่อข้อมูลต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดของเครือข่ายในตระกูล GSM และ CDMA เองที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสร้างความประทับใจต่อผู้ใช้บริการ จึงทำให้เกิดการขาดช่วงของความสมดุลในการผสานผลประโยชน์ เมื่อพิจารณาจากความสำเร็จของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ FOMA ของบริษัท NTT DoCoMo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA และประสบความสำเร็จในการดึงศักยภาพของเครือข่าย W-CDMA ให้เกื้อหนุนต่อความลงตัวสำหรับการร่วมมือในธุรกิจ Non-Voice ในประเทศญี่ปุ่นอย่างงดงาม ต่อเนื่องด้วยความคืบหน้าในการสานต่อโครงสร้างธุรกิจ Non-Voice ในประเทศจีนและอีกหลาย ๆ ประเทศ จึงสรุปได้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะเป็นการเปิดประตูสู่ธุรกิจ Non-Voice ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้



สรุปก็คือ

  ระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่นสำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และHSPA+

HSDPA นั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. 


( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )
HSUPA จะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps

HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbps



สำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้า



คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ True
คลื่นความถี่ ( band ) 2100 จะถูกพัฒนาโดย AIS
คลื่นความถี่ ( band ) 1900 ยังไม่แน่ชัดว่าจะถูกปล่อยออกโดยบริษัทไหน


3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม 
หรือมาตรฐาน IMT-2000 
นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า

“ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้“ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง“บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาทีในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาทีทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที


วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

มือถือตกน้ำทำอย่าไร ????

วิธีแก้ใขเบื้องต้นถ้ามือถือตกน้ำ





          หลายคนเมื่อเจอปัญหาแบบนี้คงตกใจทำอะไรไม่ถูกแล้วก็บ้างครัั้้งปัญหาจากเบาอาจจะเป็หนักจนแก้ไม่ทันก็ได้ มีวิธีแก้ปัญหามาฝากเพื่อนๆเพื่อจะทำไห้ไม่ต้องเสียตังเยอะหรือชื้อเคื่องใหม่

       1. อย่าเพิ่งเปิด-ปิดเครื่อง


       
       โดยเฉพาะคนที่เผลอทำโทรศัพท์ทั้งเครื่องตกลงในแหล่งน้ำ ขอย้ำว่าอย่าเพิ่งกดปุ่มเปิด-ปิดเครื่องโดยเด็ดขาด เนื่องจากการกดปุ่มเปิด-ปิดเครื่องที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในยังเปียกน้ำหรือยังมีความชื้น อาจทำให้เกิดการลัดวงจรและเสียหายหนัก หรือเสียหายถาวรได้
       
       2. รีบแยกชิ้นส่วน


       
       อย่ามัวแต่ตกตะลึง แต่ให้รีบถอดส่วนประกอบต่างๆ ของ มือถือออกจากกันอย่างรวดเร็ว (เฉพาะส่วนประกอบที่สามารถถอดได้เองตามปกติ) ทั้งซิมการ์ด, แบตเตอรี่, หน้ากาก, ฝาหลัง ฯลฯ
       
       3. ดูแถบความชื้น 


       
       ถอดชิ้นส่วนแล้วมาลองลุ้นความเสียหายจากแถบความชื้นที่ถูกซ่อนไว้ในเครื่องแต่ละรุ่น
       
       เพราะบริษัทโทรศัพท์มือถือตั้งเงื่อนไขว่า จะไม่รับประกันโทรศัพท์มือถือที่เสียหายจากความชื้น บริษัทเหล่านี้จึงซ่อนจุดสังเกตไว้เพื่อตรวจสอบว่าโทรศัพท์มือถือเครื่องนี้ตกน้ำมาหรือไม่ หรือเผลอโดนใครฉีดน้ำใส่หรือเปล่า จุดสังเกตนี้จะมาในรูปแถบความชื้นที่ทุกคนสามารถตรวจสอบเครื่องของตัวเองในเบื้องต้นได้เช่นกัน
       
       โทรศัพท์มือถือแทบทุกรุ่นจะใช้สัญลักษณ์แบบเดียวกันในการบ่งบอกว่าตัวเครื่องถูกน้ำหรือความชื้นมาหรือไม่ จากสติกเกอร์สีขาวที่มีรูปแบบทั้งวงกลมและสี่เหลี่ยม ซึ่งซ่อนอยู่ตามจุดต่างๆภายในเครื่อง ใช้การเปลี่ยนสีของสติกเกอร์เป็นสีแดงเมื่อเปียกน้ำหรือได้รับความชื้นในระดับหนึ่ง
       
       หากคุณใช้สมาร์ทโฟนยอดฮิตอย่างไอโฟนอยู่ สามารถหาจุดสังเกตที่แอปเปิลซ่อนแถบวัดความชื้นไว้บริเวณช่องเสียบสายหูฟัง 3.5 มม. และบริเวณพอร์ตเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพียงใช้ไฟฉายส่องเข้าไปในมุมตรง จะพบกับสติกเกอร์ดังกล่าว
       
       หากคุณใช้แบล็กเบอรี แถบวัดความชื้นจะซ่อนอยู่บริเวณบริเวณขั้วแบตเตอรี่และตัวเครื่องด้านหลัง ซึ่งสังเกตได้ค่อนข้างง่าย เช่นเดียวกับสมาร์ทโฟนในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่สามารถถอดแบตฯได้เอง ก็จะมีสติกเกอร์อยู่ในบริเวณดังกล่าวเช่นเดียวกัน
       
       หากคุณใช้โทรศัพท์มือถือทั่วไป สามารถสังเกตได้จากขั้วแบตเตอรี่และตัวเครื่องเช่นกัน
       
       4. ใช้ผ้าเช็ด
       
       สำหรับเครื่องที่สามารถถอดส่วนประกอบต่างๆได้ง่าย หลังจากสลัดน้ำออกด้วยแรงพอประมาณ ให้นำผ้าชนิดที่ไม่มีขน หรือกระดาษทิชชูที่คุณภาพดี ไม่เป็นขุย มาซับน้ำที่เกาะอยู่ตามจุดต่างๆ ให้แห้งที่สุดเท่าที่จะทำได้
       
       5. ห้ามเป่าไดร์-ตากแดด
       
       ไม่ควรใช้ไดร์เป่าผมเป่าให้เครื่องแห้งเด็ดขาด เนื่องจากลมจากไดร์เป่าผมมีความร้อนสูง อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ หรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในได้ง่าย
       
       แม้แต่แดดก็ไม่ได้ เพราะผู้รู้บอกว่าไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือไปตากแดดเพราะความร้อนจากแสงแดดนั้นสูงเกินไปสำหรับโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางชนิด
       
       ที่ใช้ได้คือพัดลมเท่านั้น
       
       6. อย่าเพิ่งชาร์ต
       
       ผู้รู้แนะนำว่ายังไม่ควรชาร์จแบตเตอรี่ทันที เนื่องจากวงจรภายในอาจยังไม่พร้อมที่จะรับกระแสไฟฟ้า โดยควรแน่ใจก่อนว่าเครื่องแห้งสนิททั้งหมด
       
       7. ส่งช่าง-เข้าศูนย์
       
       เมื่อเป่าแห้งแล้ว ช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือแนะนำว่าให้ส่งเครื่องเข้าศูนย์หรือส่งช่างซ่อมโดยทันที แถมยังมีการขู่ทับอีกว่าถ้าส่งเร็วก็จ่ายน้อย ส่งช้าก็จ่ายมาก จุดนี้ช่างสำทับว่าอย่าเพิ่งเปิดใช้งานในช่วงหนึ่งถึงสองวันแรก เพราะยังมีโอกาสเครื่องขัดข้องสูงมาก และการที่เครื่องแห้งในภายนอกอาจไม่ได้แปลว่าชิ้นส่วนทุกชิ้นจะแห้งสนิท การส่งเครื่องเข้าศูนย์จะทำให้เครื่องผ่านกระบวนการตรวจสอบจนแน่ใจแท้จริง




       
     อ้างอิง  http://www.bcoms.netอ  

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

วิธีแก้ และ ป้องกัน เมื่อเราถูกติด Tag รูปภาพบน Facebook


วิธีแก้ และ ป้องกัน เมื่อเราถูกติด Tag รูปภาพบน Facebook
มี 3 ระดับขั้นตอนดังนี้ครับ
ขั้นที่ 1 
    วิธีลบ Tag







 - ไปที่รูปภาพที่เราโดน ติด Tag 
  
  -หาชื่อเราให้พบ เมื่อพบชื่อเราแล้ว คลิกที่คำว่า ลบป้ายชื่อ เป็นอันเสร็จครับ






ขั้นที่ 2
    วิธีป้องกัน ด้านแรกครับ



























ขั้นที่ 3
   วิธีป้องกันสูงสุด






เข้าไปที่บัญชี --->> แก้ไขรายการเพื่อน-->>>





>>>ค้นหาชื่อ และ แล้วให้>>>กดเครื่องหมายกากบาททางขวามือ
เพื่อลบบุคคลผู้นั้นออกจากการเป็นเพื่อน
แค่นี้ก็ไม่มีอะรัยกวนใจแล้วครับ สำหรับคนที่ไม่ชอบ Tag นะ

*****ก่อนจะรับแอดก็พิจรนาชักหน่อยนะครับ เพราะเค้าใช้นามแฝง